วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

ระบบสายพานลำเลียง

ระบบสายพานลำเลียง


  ระบบสายพานลำเลียง ใช้สำหรับขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล และวัสดุก้อนโต หรือหีบห่อ ทั้งในแนวราบและแนวลาดเอียง สร้างได้หลายลักษณะ คือ แบบติดตาย-เคลื่อนย้ายที่ได้ หรือสายพานแบบราบ-สายพานแบบแอ่ง มีขีดความสามารถสูง ระยะทางขนถ่ายได้ไกล สร้างได้ง่าย ไม่ต้องการงานบำรุงรักษามากนัก ความสึกหรอต่ำและใช้กำลังขับค่อนข้างต่ำ ข้อจำกัดที่สำคัญได้แก่ความชันลาดขึ้นของสายพาน หากจะต้องขนถ่ายที่ความชันราบถึง 45 องศา จะต้องสร้างผิวสายพานให้มีแผ่นกั้นวัสดุไหล และไม่ควรใช้ขนถ่ายวัสดุที่กำลังร้อน












 สายพานลำเลียงเป็นสายพานที่ใช้ขนส่งวัสดุจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยจะต้องมีตัวขับและพูเลย์ในการทำงานให้สายพานลำเลียงเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของสายพานลำเลียงจะเกิดจากแรงเสียดทานระหว่างสายพานกับพูเลย์ แรงเสียดทานดังกล่าวจะขึ้นอยุ่กับผิวสัมผัส ระหว่างสายพานกับพูเลย์ และแรงดึงให้สายพานตึง จากลักษณะการใช้งานสายพานจึงต้องมีสมบัติต่างๆ ดังนี้ 
          ความทนทานต่อแรงเฉือน (Tear strength) ระหว่างใช้งาน ชั้นยางและผ้าใบแต่ละชั้นจะรับแรงในการขับเคลื่อนสายพานในปริมาณที่แตกต่างกัน เมื่อผ่านพูเลย์ ยางผิวด้านล่างจะเกิดแรงกด ส่วนยางผิวด้านบนจะถูกยืดออก และชั้นผ้าใบแต่ละชั้นก็รับแรงไม่เท่ากัน ระหว่างชั้นวัสดุแต่ละชั้นของสายพาน จะมีแรงเฉือนเกิดขึ้น แรงเฉือนดังกล่าวจะกระทำกับแต่ละจุดของสายพานมีลักษณะเป็นรอบ อาจทำให้เกิดปัญหาแยกชั้นของสายพานได้หากแรงยืดของแต่ละชั้นไม่แข็งแรงพอ การทดสอบผลิตภัณฑ์สายพานลำเลียงจึงต้องมีการทดสอบ สมบัติความทนทานต่อแรงเฉือนของสายพาน เกี่ยวกับการยึดติดระหว่างผ้าใบกับยางและระหว่างผ้าใบกับผ้าใบแต่ละชั้น
          ความทนทานต่อการสึกหรอ (Abrasion Resistance) สายพานจะเกิดการเสียดสีตลอดเวลาในระหว่างการใช้งาน โดยเฉพาะที่ผิวยางบน ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องสัมผัสกับวัสดุที่ต้องการจะลำเลียงวัสดุแต่ละชนิด จะทำให้เกิดการสึกหรอแตกต่างกัน จึงต้องมีการตรวจสอบทุกครั้งในการผลิตสายพานลำเลียง
          ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม (Environmental Resistance) การใช้งานสายพานลำเลียงมีลักษณะที่แตกต่างกันไป การใช้งานกลางแจ้งยางผิวที่ใช้จะต้องมีความทนทานต่อแสง UV ออกซิเจน และโอโซน ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้สายพานเสื่อมสภาพเร็วมากขึ้น การใช้งานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี เช่น นำ้มัน, กรดหรือด่าง, เป็นต้น ยางผิวที่ใช้ควรมีสมบัติที่สามารถทนทานต่อสารเคมีดังกล่าวได้
          ความทนทานต่อความร้อน สายพานที่ผ่านพูเลย์จะเกิดการผิดรูปที่มีลักษณะเป็นคาบ ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนสะสม (heat build up) ขึ้นได้ โดยเฉพาะสายพานที่ใช้แรงดึงและเดินรอบสูง ๆ จะเกิดความร้อนขึ้นมาก ซึ่งอาจจะทำให้ยางเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็นได้
          ส่วนสมบัติอื่นที่ควรมีการคำนึงถึง คือ ความทนทานต่อแรงดึง และความทนทานต่อความล้า ยางผิวสายพานต้องมีความทนทานต่อแรงดึงพอสมควรเนื่องจาก จะต้องรับแรงดึงที่ใช้ขับเคลื่อนสายพาน และต้องมีความทนทานต่อความล้าด้วย เนื่องจากการผิดรูปลักษณะเป็นรอบดังกล่าวข้างต้น


          สายพานลำเลียงเรียบ จะใช้ขนส่งวัสดุในแนวราบ หรือที่ที่มีความชันไม่มาก ยางผิวของสายพาน ชนิดของผ้าใบ และจำนวนชิ้นผ้าใบจะขึ้นอยู่กับงานที่จะนำไปใช้ การผลิตสายพานลำเลียงเรียบ จะมีผ้าใบไม่เต็มความกว้างของสายพานเนื่องจากจะต้องมีขอบซึ่งเป็นยางผิวล้วน กว้างไม่เกิน 5/8 นิ้ว ขอบของสายพานจะช่วยป้องกันความชื้นให้กับผ้าใบ ดังนั้นสายพานชนิดนี้จึงสามารถใช้ผ้าใบที่ดูดความชื้นสูงได้ เช่นผ้า Cotton

สายพานลำเลียงเรียบ



ตารางเปรียบเทียบอื่นๆ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พาหนะลำเลียงวัสดุอัตโนมัติ (AGV)

พาหนะลำเลียงวัสดุอัตโนมัติ (AGV) ระบบ AGV ของ Daifuku เพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการขนย้ายวัสดุ ในหลากหลายโรงงานอุตสาหกรรม...